เอกสารที่ใช้ยื่นกู้ซื้อบ้าน หรือ สร้างบ้าน




การขอกู้เงินจากแหล่งสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อมาสร้าง หรือมาซื้อบ้านนั้น จัดเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนทางหนึ่งค่ะ แต่จะมีขั้นตอนการขอกู้ซื้อ หรือกู้สร้างบ้าน อย่างไรบ้างนั้น วันนี้บล้อกบ้านแสนรักได้นำเอาสาระเรื่องขั้นตอนต่าง ๆ มาฝากกัน เรามาดูขั้นตอนและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ กู้เงินซื้อบ้าน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนแรกของการขอกู้เงินกับสถาบันการเงิน เราสามารถเริ่มได้จากการติดต่อกับฝ่ายสินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อเคหะของธนาคารค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงความจำนงขอกู้ พร้อมทั้งนำหลักฐานยื่นประกอบการขอกู้โดยครบถ้วน โดยเอกสารที่จะต้องเตรียมไปมีดังนี้

1. แบบบ้าน

2. สัญญาว่าจ้างระหว่างเรากับผู้รับเหมา

3. ใบรายการวัสดุพร้อมประเมินราคาจากผู้รับเหมา

4. ใบอนุญาตก่อสร้าง

5. โฉนดที่ดิน 

6. หากว่าโฉนดของที่ดินที่จะปลูกสร้างไม่ใช่ชื่อเราเป็นเจ้าของ ต้องให้เขาทำหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างได้ (ถึงแม้ว่าจะนามสกุลเดียวกันก็ตาม)โดยแบบฟอร์มที่สำนักงานที่ดินเขตก็มีให้ หรือ จะทำขึ้นมาเองก็ได้โดยขั้นตอนนี้จะต้องไปยื่นพร้อมกับหลักฐานตอนขออนุญาตก่อสร้าง ซึ่งหลักฐานเพิ่มเติมก็จะมี

6.1 หนังสือยินยอม

6.2 สำเนาประชาชน ทะเบียนบ้านของเจ้าของโฉนดผู้ยินยอมและจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักประกันที่จะนำไปใช้ในการขอกู้ด้วย

หลังจากนั้นเมื่อยื่นกู้แล้ว ธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะส่งเจ้าหน้าที่สำรวจและประเมินราคาบ้านและที่ดินที่จะนำมาจำนองเป็นหลักประกัน โดยทั่วไปก็จะใช้แวลาประมาณ 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารและสถาบันการเงิน

ธนาคารและสถาบันการเงินจะพิจารณาคำขอกู้โดยจะทำการวิเคราะห์รายได้ ฐานะทางการเงิน ความสามารถในการผ่อนชำระ และหลักประกันของผู้กู้รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ และจะแจ้งผลการขอกู้ให้ผู้กู้ทราบ โดยปกติทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารและสถาบันการเงิน

เมื่อได้รับอนุมัติกู้แล้ว ผู้กู้ก็จะต้องลงนามในสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง พร้อมทั้งนัดวันไปทำนิติกรรมจำนองที่สำนักงานที่ดิน

ในวันโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองบ้านที่เราจะซื้อที่สำนักงานที่ดิน ผู้กู้ซึ่งก็คือเรา ผู้ขายบ้านให้เรา และเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินจะไปพร้อมกันที่สำนักงานที่ดินที่หลักทรัพย์ตั้งอยู่ ทั้งนี้เราจะต้องเตรียมเงินเป็นค่าจดทะเบียนจำนองตามปกติร้อยละ 1 ของวงเงินกู้ไปด้วยนะคะ และจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิมธิ์ตามปกติร้อยละ 2 ของราคาประเมินของกรมที่ดิน ซึ่งโดยทั่วไปผู้ขายมักจะเป็นผู้จ่ายเว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น

เมื่อทุกขั้นตอนเรียบร้อยเจ้าหน้าที่จะจ่ายเงินกู้ให้ผู้กู้เป็นแคชเชียร์เช็ค เพื่อให้ผู้กู้จ่ายเงินคงเหลือให้กับเจ้าของโครงการ หรือผู้ขาย และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว ต่อไปก็จจะเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องมีภาระในการผ่อนชำระงวดให้แก่ทางสถาบันการเงินที่เราไปกู้มาทุกเดือนภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา




เรียบเรียงข้อมูล และภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ใหม่กว่า เก่ากว่า