ระบบรักษาความปลอดภัย

ความมั่นคงปลอดภัย เป็นสิ่งที่คนเราทุกคนต้องการ นอกเหนือไปจากความต้องการทางด้านปัจจัยสี่ แต่ละคน ต้องการอาจมีความแตกต่างกันออกไป 

บางคนอาจจะห่วงในด้านของ สุขภาพและชีวิต ในขณะที่บางคน อาจจะเป็นห่วงไกลออกไปถึง ฐานะความเป็นอยู่และความมั่นคงใน อนาคตแต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ คงจะเห็นพ้องต้องกัน และยอมรับว่า เป็นความมั่นคงปลอดภัย พื้นฐานที่คน เราต้องการ นั่นก็คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และหนึ่งในบรรดาทรัพย์สินที่อาจถือ ได้ว่า มีค่าที่สุด และ ผูกพันกับชีวิต ความเป็นอยู่ของแต่ละคนในครอบครัวก็คือ บ้าน และทรัพย์สินต่างๆ ภายในบ้าน

เนื่องจาก สภาพความเป็นอยู่ ของคนในสังคมปัจจุบัน มีความกดดันทาง ด้านเศรษฐกิจ และ สภาวะความเป็นอยู่สูง ปัญหาทางด้านสังคม และ ภัยอันตราย จากโจร ผู้ร้าย จึงมีสูงตามไปด้วย ผู้คนจำนวนมาก จึงเริ่มให้ความสำคัญ และหาทางป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงต่อภัยอันตรายดังกล่าว 

ด้วย เหตุนี้เอง สัญญาณกันขโมย จึงเริ่มเข้ามามีบทบาท ในการปกป้องชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยใน บ้านจากบรรดาโจรผู้ร้าย หรืออย่างน้อย ก็เพิ่มความอบอุ่นใจ ให้แก่ผู้ใช้ได้ เพราะถึงแม้ว่าการ ติดตั้งสัญญาณกันขโมย จะไม่สามารถรับประกัน ความปลอดภัยได้เต็มที่ แต่ก็น่าจะทำให้โจรผู้ร้าย ต้องใช้ความพยายามมากขึ้น และลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง สัญญาณกันขโมย หรือบางครั้งอาจเรียกว่า เครื่องกันขโมย หรือเครื่องเตือนภัยอัตโนมัติ สามารถ แบ่งชนิดตามระบบของการทำงานออกได้เป็น 2 ระบบ 

1. สัญญาณกันขโมยระบบใช้สายไฟ

สัญญาณกันขโมย แบบนี้ เป็นระบบที่ใช้ สายไฟเป็นตัวเชื่อมต่อ การทำงานระหว่างอุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม และ อุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียง ระบบนี้มี ข้อดีคือ ให้ความแน่นอนในการส่งสัญญาณ เนื่องจากเชื่อมต่อด้วยระบบสายไฟ การติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ สามารถวางได้ทุกตำแหน่ง โดยปราศจากอุปสรรค หรือสัญญาณรบกวนต่างๆ บำรุง รักษาง่าย ราคาไม่แพงมาก แต่มีข้อเสียคือ การติดตั้งยุ่งยาก เพราะต้องมีการเดินสายไฟ ยิ่งถ้า เป็นการเดินสายไฟแบบฝังภายในผนัง หรือ อยู่เหนือฝ้าเพดานแล้ว เวลาเกิดปัญหาขึ้น การตรวจสอบ และ แก้ไขจะทำได้ยาก แต่ถ้าเป็นการเดินสายไฟ แบบเดินสายลอย ภายนอก เวลาเกิดปัญหาขึ้นการตรวจ สอบแก้ไขก็สามารถทำได้ไม่ยาก การทำงานของสัญญาณกันขโมย ในระบบนี้ ค่อนข้างเชื่อถือ ได้จึงมีผู้นิยมใช้

2. สัญญาณกันขโมยระบบไร้สาย

สัญญาณกันขโมยระบบนี้มีระบบการทำงานพื้นฐาน และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ คล้าย คลึงกับระบบใช้สายไฟ เพียงแต่ การเชื่อมต่อ การทำงานระหว่าง อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ และ เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม นั้น จะใช้ระบบคลื่นวิทยุแทนเท่านั้น โดยอุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณจะทำหน้าที่เป็นเครื่องส่ง คลื่นวิทยุไปด้วยในตัว เพื่อกระตุ้นให้เครื่องรับสัญญาณ ทำงานเมื่อ มีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น ระบบนี้มีข้อดีคือ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องเดินสายไฟให้ยุ่งยาก เหมาะสำหรับ บ้าน หรือห้องพักอาศัยที่ต้องการ ความสะดวกรวดเร็วและเรียบร้อย แต่ระบบนี้ก็มีข้อเสียคือมีข้อ จำกัดในการวางตำแหน่งของตัวอุปกรณ์ต่างๆ เพราะถ้าวางใน ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมการส่งและ การรับสัญญาณคลื่นวิทยุ ของอุปกรณ์ต่างๆ อาจถูกรบกวน หรือบดบังทำให้การทำงาน ในบางจุดไม่ ได้ผล ระบบนี้จึงไม่เหมาะสำหรับบ้านขนาดใหญ่ หรืออาคารที่มีหลายชั้น ซึ่งต้องติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ อย่างกระจัดกระจาย การบำรุงรักษาก็ยากกว่า ระบบใช้สาย ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่ซึ่งใช้เป็น พลังงานในการส่งคลื่นวิทยุ ของอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ ตามระยะ เวลาที่กำหนด เพราะถ้าเกิดลืม เปลี่ยนปล่อยให้แบตเตอรี่หมดหรืออ่อนกำลังลง เครื่องก็จะไม่ทำงาน อีกทั้งระบบนี้ มีราคา ค่อนข้างสูง จึงมีผู้นิยมใช้สัญญาณกันขโมยระบบนี้ในวงจำกัด

1. อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ ( Sensor )
อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ตรวจจับสิ่งผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ และส่งสัญญาณไปยัง เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องควบคุม เพื่อทำการเตือนภัยโดยมีอุปกรณ์พื้นฐาน ที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ สวิตช์แม่เหล็ก ( magnetlc contact ) ซึ่งจะติดตั้งบริเวณประตู หรือหน้าต่าง เมื่อเวลาประตูหรือ หน้าต่างถูกงัดหรือเปิดออกสัญญาณ ก็จะดังขึ้น อุปกรณ์ป้องกันการทุบกระจก ( glass break detector ) ซึ่งจะติดตั้งกับกระจกประตู หรือหน้าต่าง การทำงานจะอาศัยการตรวจจับความสั่นสะเทือน เมื่อมี การทุบหรือกรีดกระจก สัญญาณก็จะดังขึ้น เครื่องตรวจจับด้วยแสงอินฟราเรด ( infrared detector ) ซึ่งจะติดตั้งในบริเวณห้อง การทำงาน จะอาศัย การตรวจจับ การเคลื่อนไหว ที่ตัดผ่านลำแสงที่เกิดขึ้น ในบริเวณห้องนั้น เป็นต้น
นอกจากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ พื้นฐานดังกล่าวแล้ว ยังมีการนำเอาอุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณชนิดอื่น เข้ามาใช้ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในด้านอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะ กรณีและความสามารถของระบบ ที่จะยอมรับได้ เช่น เครื่องตรวจจับความร้อนและควันไฟ เมื่อเกิด อัคคีภัยขึ้น เครื่องควบคุมการเปิดและปิดไฟอัตโนมัติ เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เป็นต้น

2. เครื่องรับสัญญาณหรือเครื่องควบคุม ( Receiver or Control unit )
เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องควบคุมนี้ถือเป็นหัวใจ ในการทำงานของระบบ เพราะจะทำ หน้าที่รับสัญญาณ จาก อุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณ ทุกจุด ควบคุม และประสานการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน และ ส่งสัญญาณเตือนภัย ให้ดังขึ้น เมื่อมีสิ่งผิดปกติ เกิดขึ้น การกดรหัสเพื่อปิดหรือเปิด เครื่องตลอดจน การเลือกรูปแบบของการทำงานต่างๆ จะต้องทำที่ส่วนนี้
เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม ที่มีประสิทธิภาพสูง จะสามารถใช้งานร่วมกับ อุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ ได้มากจุด และหลากหลาย รูปแบบ นอกเหนือจาก อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณหลัก ที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น สามารถใช้กับ เครื่องตรวจจับความร้อน และ ควันไฟ เมื่อเกิด อัคคีภัย สามารถ ใช้กับ เครื่องควบคุมระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน สามารถใช้งานร่วมกับ เครื่องควบคุมระยะไกล สามารถตั้ง เวลาการทำงานของ เครื่องได้โดยอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งสามารถส่งสัญญาณแจ้งเหต ุไปยังสถานี ตำรวจเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น ดังนั้น มูลค่า หรือราคาของ ระบบสัญญาณกันขโมย จึงมักอยู่ที่เครื่องควบคุม นี้เป็นหลัก เวลาจะเลือกซื้อ จึงควรศึกษา และให้ความสนใจ เกี่ยวกับประสิทธิภาพและการทำงานของ ระบบควบคุมนี้เป็นพิเศษ

3. ลำโพงสัญญาณเตือนภัย ( Siren )
ลำโพงสัญญาณเตือนภัยหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ไซเรน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ เสียง เพื่อเตือนภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ ผิดปกติขึ้น การทำงานของไซเรนนี้ จะรับสัญญาณมาจาก เครื่องควบคุม อีกทีหนึ่ง การทำงานของ ไซเรน ที่จะให้ได้ผลดีนั้น ควรอยู่ในตำแหน่งที่ ไซเรน ทำงานแล้ว สามารถ ส่งเสียงดังให้ได้ยินไปไกล และติดตั้งไว้ในจุดที่ผู้บุกรุกจะเข้าไปตัดสายได้ยาก ส่วนการจะเลือก ไซเรน ให้มีความดังระดับใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับทำเล สถานที่ และสิ่งแวดล้อมรอบข้างด้วย ซึ่งอาจมีการทด สอบก่อนเพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสม

4. แบตเตอรี่สำรอง ( Backup Battery )
โดยอาศัยอุปกรณ์หลัก 3 อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ระบบสัญญาณกันขโมยก็สามารถ ทำงานได้ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ ที่เป็นส่วน ควบคุม ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้สายไฟหรือ ระบบไร้สาย จะต้อง ใช้ไฟฟ้าในบ้าน เพื่อเลี้ยงวงจร ในการทำงาน ถ้าไฟฟ้าดับเครื่อง ก็ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้น ระบบสัญญาณกันขโมย โดยทั่วไป จึงจำเป็นต้องมี แบตเตอรี่สำรอง ไว้ ซึ่งจะเป็น แบตเตอรี่ ที่สามารถชาร์จไฟได้ ในตัวเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ในกรณีไฟฟ้าดับ หรือผู้บุกรุกตัดกระแสไฟฟ้าในบ้านสัญญาณกัน ขโมยก็ยังคงทำงานได้ตามปกติ

ในบางครั้ง การดูแลรักษา ของเจ้าของบ้าน อาจไม่เพียงพอและทั่วถึง จำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ มาช่วยทั้ง ในรูปแบบของ ยามรักษาการณ์ หรือ ระบบอัตโนมัติอื่น ๆ





Read more: http://www.novabizz.com/CDC/System61.htm#ixzz29lrXXZjX

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระบบรักษาความปลอดภัย







ใหม่กว่า เก่ากว่า