บ่อดักไขมันใช้สำหรับบำบัดน้ำเสียจากครัวของบ้านพักอาศัย ห้องอาหารหรือภัตตาคาร
เนื่องจาก : น้ำเสียดังกล่าวจะมีน้ำมันและไขมันปนอยู่มากหากไม่กำจัดออกจะทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน
โดยลักษณะน้ำเสีย จากครัวของ บ้านพักอาศัย กรณีที่ไม่ผ่านตะแกรง จะมีน้ำมัน และไขมันประมาณ 2,700 มิลลิกรัม/ลิตร หากผ่านตะแกรง จะมีน้ำมันและไขมันประมาณ 500 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับลักษณะน้ำเสีย จากครัวของภัตตาคาร จะมีน้ำมัน และไขมันประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/ลิตร
ดังนั้น บ่อดักไขมัน ที่ใช้จะต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ ที่จะกักน้ำเสีย ไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ไขมันและน้ำมัน มีโอกาสลอยตัวขึ้นมาสะสมกันอยู่บนผิวน้ำ เมื่อปริมาณไขมัน และน้ำมัน สะสมมากขึ้น ต้องตักออกไปกำจัด เช่น ใส่ถุงพลาสติก ทิ้งฝากรถขยะ หรือนำไป ตากแห้งหรือหมักทำปุ๋ย บ่อดักไขมัน จะสามารถ กำจัดไขมัน ได้มากกว่าร้อยละ 60 บ่อดักไขมันมีทั้งแบบสำเร็จรูป ที่สามารถซื้อและติดตั้งได้ง่าย หรือสามารถสร้างเองได้ โดยใช้ วงขอบซีเมนต์หรือ ถังซีเมนต์หินขัด ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า แบบสำเร็จรูป และสามารถปรับ ให้เหมาะสมกับ พื้นที่และปริมาณน้ำที่ใช้
การสร้างบ่อดักไขมัน
การออกแบบบ่อดักไขมัน สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีอุณหภูมิสูง การจับตัว ของไขมัน ช้า ดังนั้นระยะเวลากักพัก (Detention Time) ของบ่อดักไขมัน จึงไม่ควรน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำมันและไขมัน มีโอกาสแยกตัว และลอยขึ้น มาสะสมกันอยู่บนผิวน้ำ และตักออกไปกำจัด เมื่อปริมาณไขมัน และน้ำมันสะสมมากขึ้น
เนื่องจากบ่อที่ใช้สำหรับบ้านเรือน จะมีขนาดเล็ก ทำให้ไม่คุ้มกับ การก่อสร้าง แบบเท คอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นอาจ ก่อสร้างโดยใช้วงขอบซีเมนต์ ที่มีจำหน่าย ทั่วไป นำมาวางซ้อนกัน เพื่อให้ได้ปริมาตรเก็บกัก ตามที่ได้คำนวณไว้ โดยทางน้ำเข้าและ ทางน้ำออกขอ งบ่อดักไขมัน อาจจะใช้ท่อรูปตัวที (T) หรือ แผ่นกั้น (Baffle) สำหรับในกรณี ที่น้ำเสียมีปริมาณมากอาจก่อสร้างจำนวนสองบ่อ หรือมากกว่าตาม ความเหมาะสม แล้วแบ่งน้ำเสีย ไหลเข้าแต่ละบ่อ ในอัตราเท่า ๆ กัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจาก : น้ำเสียดังกล่าวจะมีน้ำมันและไขมันปนอยู่มากหากไม่กำจัดออกจะทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน
โดยลักษณะน้ำเสีย จากครัวของ บ้านพักอาศัย กรณีที่ไม่ผ่านตะแกรง จะมีน้ำมัน และไขมันประมาณ 2,700 มิลลิกรัม/ลิตร หากผ่านตะแกรง จะมีน้ำมันและไขมันประมาณ 500 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับลักษณะน้ำเสีย จากครัวของภัตตาคาร จะมีน้ำมัน และไขมันประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/ลิตร
ดังนั้น บ่อดักไขมัน ที่ใช้จะต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ ที่จะกักน้ำเสีย ไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ไขมันและน้ำมัน มีโอกาสลอยตัวขึ้นมาสะสมกันอยู่บนผิวน้ำ เมื่อปริมาณไขมัน และน้ำมัน สะสมมากขึ้น ต้องตักออกไปกำจัด เช่น ใส่ถุงพลาสติก ทิ้งฝากรถขยะ หรือนำไป ตากแห้งหรือหมักทำปุ๋ย บ่อดักไขมัน จะสามารถ กำจัดไขมัน ได้มากกว่าร้อยละ 60 บ่อดักไขมันมีทั้งแบบสำเร็จรูป ที่สามารถซื้อและติดตั้งได้ง่าย หรือสามารถสร้างเองได้ โดยใช้ วงขอบซีเมนต์หรือ ถังซีเมนต์หินขัด ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า แบบสำเร็จรูป และสามารถปรับ ให้เหมาะสมกับ พื้นที่และปริมาณน้ำที่ใช้
การสร้างบ่อดักไขมัน
การออกแบบบ่อดักไขมัน สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีอุณหภูมิสูง การจับตัว ของไขมัน ช้า ดังนั้นระยะเวลากักพัก (Detention Time) ของบ่อดักไขมัน จึงไม่ควรน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำมันและไขมัน มีโอกาสแยกตัว และลอยขึ้น มาสะสมกันอยู่บนผิวน้ำ และตักออกไปกำจัด เมื่อปริมาณไขมัน และน้ำมันสะสมมากขึ้น
เนื่องจากบ่อที่ใช้สำหรับบ้านเรือน จะมีขนาดเล็ก ทำให้ไม่คุ้มกับ การก่อสร้าง แบบเท คอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นอาจ ก่อสร้างโดยใช้วงขอบซีเมนต์ ที่มีจำหน่าย ทั่วไป นำมาวางซ้อนกัน เพื่อให้ได้ปริมาตรเก็บกัก ตามที่ได้คำนวณไว้ โดยทางน้ำเข้าและ ทางน้ำออกขอ งบ่อดักไขมัน อาจจะใช้ท่อรูปตัวที (T) หรือ แผ่นกั้น (Baffle) สำหรับในกรณี ที่น้ำเสียมีปริมาณมากอาจก่อสร้างจำนวนสองบ่อ หรือมากกว่าตาม ความเหมาะสม แล้วแบ่งน้ำเสีย ไหลเข้าแต่ละบ่อ ในอัตราเท่า ๆ กัน
ขนาดมาตรฐานบ่อดักไขมันแบบวงขอบซีเมนต์สำหรับบ้านพักอาศัย |
หมายเหตุ : ความสูงของวงขอบซีเมนต์ทั่วไปประมาณ 0.33 ม. ดังนั้นถ้าหากความลึกน้ำ = 0.40 ม. จึงต้องซ้อนกันอย่างน้อยสองวง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของระดับฝาบ่อด้วย
ที่มา : คู่มือเล่มที่ 2 สำหรับผู้ออกแบบและผู้ผลิตระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่
ที่มา : คู่มือเล่มที่ 2 สำหรับผู้ออกแบบและผู้ผลิตระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่
กรมควบคุมมลพิษ 2537
Read more: http://www.novabizz.com/CDC/System/Grease_Trap.htm#ixzz29XXgJeJV
บทความที่เกี่ยวข้อง
บ่อดักไขมัน