ระบบบ่อเกรอะ (Septic Tank)

ระบบบ่อเกรอะ (Septic Tank) บ่อเกรอะมีลักษณะเป็นบ่อปิด ซึ่งน้ำซึมไม่ได้และไม่มีการเติมอากาศ ดังนั้นสภาวะในบ่อจึงเป็นแบบไร้อากาศ (Anaerobic) โดยทั่วไปมักใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากส้วม แต่จะใช้บำบัดน้ำเสียจากครัวหรือน้ำเสียอื่นๆ ด้วยก็ได้

ถ้าหากสิ่งที่ไหลเข้ามาในบ่อเกรอะมีแต่อุจจาระหรือสารอินทรีย์ที่ย่อยง่าย หลังการย่อยแล้ว ก็จะกลายเป็น ก๊าซกับน้ำและ กากตะกอน (Septage) ในปริมาณที่น้อยจึงทำให้บ่อไม่เต็มได้ง่าย (อัตราการเกิดกากตะกอนประมาณ 1 ลิตร/คน/วัน) แต่อาจต้องมีการสูบกากตะกอนในบ่อเกรอะ (Septage) ออกเป็นครั้งคราว (ประมาณปีละหนึ่งครั้ง สำหรับ บ่อเกรอะ มาตรฐาน) แต่ถ้าหากมีการทิ้งสิ่งที่ย่อย หรือ สลายยาก เช่น พลาสติก ผ้าอนามัย กระดาษชำระ สิ่งเหล่านี้ จะยังคงค้างอยู่ในบ่อและทำให้บ่อเต็มก่อนเวลาอันสมควร เพื่อให้บ่อเกรอะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ตารางแสดง ปริมาณสารละลายในน้ำ

เนื่องจากประสิทธิภาพใน การบำบัดน้ำเสีย ของ บ่อเกรอะ ไม่สูงนักประมาณร้อยละ 40 - 60 ทำให้น้ำทิ้งจาก บ่อเกรอะ ยังคงมี ค่าบีโอดี สูงเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่สามารถ ปล่อยทิ้ง แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือ ท่อระบายน้ำสาธารณะ ได้ จึงจำเป็นจะต้องผ่าน ระบบบำบัด ขั้นสองเพื่อลด ค่าบีโอดี ต่อไป

ลักษณะของบ่อเกรอะ

ลักษณะที่สำคัญของ บ่อเกรอะ คือ ต้องป้องกันตะกอนลอย (ฝ้าไข: Scum) และตะกอนจม ไม่ให้ไหลไปยัง บ่อเกรอะ ขั้นสอง เช่น ใช้แผ่นกั้นขวาง หรือท่อรูปตัวที (สามทาง)

บ่อเกรอะ มีใช้อยู่ตาม อาคารสถานที่ทั่วไป จะสร้างเป็น บ่อคอนกรีต ในที่ หรือ ถ้าเป็น อาคารขนาดเล็ก หรือ บ้านพักอาศัย ก็มักนิยมสร้างโดยใช้ วงขอบซีเมนต์ ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไป แต่ปัจจุบันมีการสร้าง ถังเกรอะสำเร็จรูป จำหน่ายโดยใช้หลักการเดียวกัน





Read more: http://www.novabizz.com/CDC/System/Septic_Tank.htm#ixzz29XNeEiGd



บทความที่เกี่ยวข้อง


ระบบบ่อเกรอะ (Septic Tank)



02.หลักเกณฑ์การออกแบบบ่อเกราะ


ใหม่กว่า เก่ากว่า