การทาสีและการเลือกใช้สี
1.หลังจากการทำความสะอาดพื้นผิวตรงบริเวณที่จะทำการทาสีแล้วก่อนการทาสีจริงหรือสีทับหน้าจะต้องมีการทาสีรองพื้น ก่อนเสมอ ซึ่งสีรองพื้น ดังกล่าว จะต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับ ชนิดและสภาพของพื้นผิว ที่จะทาด้วยเพื่อให้ผลงาน ที่ได้มี คุณภาพดี และคงทน เพราะสีรองพื้นต่างชนิดกัน จะมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ใช้สีรองพื้นปูนใหม่ กันด่างสำหรับพื้นผิวปูน ที่ยังไม่เคยทาสีมาก่อน ใช้สีรองพื้นปูนเก่า สำหรับพื้นผิวปูนเก่า ที่เคยผ่านการทาสี และขูดสีเก่าออกแล้ว ใช้สีรองพื้นแดงกันสนิม
สำหรับงานทาสีพื้นผิวเหล็กทั่วไป และใช้สีรองพื้นไม้กันเชื้อราสำหรับงานทาสีพื้นผิวไม้ เป็นต้น มีอยู่บ่อยครั้งที่มีการทาสีจริง ทับหน้าเลย โดยไม่มีการทาสีรองพื้นก่อน เช่น งานทาสีเหล็กต่างๆ หรือมีการใช้สีรองพื้นผิดประเภท เช่น งานทาสีปูนเก่าและปูนใหม่ ซึ่งอาจจะทำด้วย ความจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผลงาน ที่ได้มีคุณภาพไม่ดี เท่าที่ควร และมีอายุการใช้งานสั้นลง
2.การเลือกสีที่ใช้ว่าเป็นสีอะไรนั้นควรจะเลือกตามเบอร์หรือสเป็กของสีที่แต่ละบริษัทผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัท ผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัทจะผลิตสีต่างๆ ออกมาให้เลือกเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ไม่ควรนำสีต่างๆ มาผสมเอง เพราะการ ผสมสีเองในแต่ละครั้ง อาจเกิด การผิดเพี้ยนได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการผสมสี เพื่อซ่อมสีบางจุดใน ภายหลัง อาจเกิด การผิดเพี้ยนได้มาก อีกประการหนึ่งการนำสีต่างๆ มาผสมกันเองอาจเป็น สาเหตุที่ทำให้มีการนำเอาสีเก่า หรือสีที่ด้อยคุณภาพ มาผสมลงไปได้โดยง่าย ซึ่งทำการตรวจสอบได้ยาก ทำให้สีที่ได้ด้อยคุณภาพลงอีกด้วย
3.สีที่นำมาใช้ควรจะเป็นสีใหม่หรืออยู่ในสภาพที่ดี มีเนื้อสีสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีลักษณะของการปนเปื้อนหรือจับตัวเป็นก้อน กระป๋องที่ บรรจุสีจะต้องอยู่ในสภาพดี มีฝาปิดสนิท มีการระบุเบอร์ของสีที่ชัดเจน ไม่อยู่ในสภาพบุบเบี้ยวหรือหรือเต็มไปด้วยสนิม ซึ่งทำให้ไม่สามาถ เก็บรักษาสีให้อยู่ในสภาพที่ดีได้
4.สำหรับบางคนอาจจะเลือกใช้กระดาษปิดผนัง (wallpaper) แทนการทาสีในบางส่วนเพื่อเพิ่มความหรูหราสวยงามให้แก่ ตัวบ้าน เนื่องจากการใช้ กระดาษปิดผนัง จะต้องใช้กาวเป็นตัวติดประสาน จึงมีข้อควรระวังปัญหา เรื่องน้ำ โดยเฉพาะผนังด้าน ที่มีหน้าต่างหรือช่องกระจก ควรระวัง เรื่อง การรั่วซึมของน้ำฝน เพราะหากมีน้ำรั่วซึมออกมาแล้ว จะทำให้กระดาษปิดผนัง เป็นรอยด่าง ขึ้นราและหลุดออกได้ง่าย ฉะนั้นการเลือกใช้กระดาษ ปิดผนัง แทนการทาสี จึงควรพิจารณาถึง สิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อหาทางป้องกันเอาไว้
อาคารบ้านเรือนหลายหลังที่พบว่ามีอาการวิบัติของสีที่ใช้ในการทาบ้าน หรือที่ภาษาชาวบ้านเขามักจะเรียกว่า "สีลอก สีร่อน" จริง ๆ แล้วอาการ ที่ว่า ก็เกิดจากสาเหตุไม่กี่อย่าง แต่พอจะมีวิธีป้องกัน และแก้ไขเสียก่อน ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง หลักการข้อแรกคือ ต้องพึงนึกอยู่เสมอว่า สีกับความชื้น จะไม่ถูกกัน ฉะนั้นถ้ามีสิ่งที่ก่อให้เกิดความชื้น ก็ไม่ควรที่จะลงมือทำอะไรที่เกี่ยวกับสีครับ เช่น ในกรณีหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาเช่นนี้ ก็ไม่ควรที่จะให้ช่างสี ลงมือทาสีเลยทันที โดยเฉพาะผนังภายนอก หลังจากฝนตกแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 วันหรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี เพื่อให้ความชื้นในผนังหมดไปเสียก่อน จึงได้ฤกษ์ลงมือทาสีกันได แต่ถ้าการก่อสร้างของท่าน เร่งด่วนจริง ๆ ก็มีสีรองพื้นปูนใหม่ประเภทที่ฉาบเสร็จ 1 วันทาได้เลยครับ เป็นสีผสมผงปูนอย่างหนึ่ง สีชนิดนี้จะทาประมาณ 2-3 รอบ ลักษณะการทาจะเหมือนกับการฉาบปูน (ปูนกาว) บาง ๆ ทับปูนฉาบไปอีกชั้นหนึ่ง แต่หากเป็นสีปกติธรรมดา จะลงมือทาสีได้ หลังจากฉาบและทิ้งไว้ ๑๔ - ๒๘ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาให้เสร็จเสียก่อน จึงจะทาสีได้ ไม่เช่นนั้นสีก็จะเป็นขุย หรือจะลอก ซีดได้
ปัญหาอีกอย่างที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ รอยร้าวเล็ก ๆ ที่ผนังซึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อการทาสีได้เช่นกัน รอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ไม่ได้ทำเอ็น รอบวงกบ และต่อเอ็นไปเชื่อมส่วนโครงสร้างหลักหรือไม่ได้ ติดลวดตะแกรงที่มุมวงกบ หรืออาจเกิดจาก ฝีมือของช่างฉาบเอง เช่น ฉาบปูนแล้วไม่ได้บ่มน้ำ หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ใช้ฟองน้ำฉาบไล้ผิวแบบผิดวิธี
ถ้าเป็นรอยแคร๊กเล็กๆ ทั้งหลายสามารถ "โป๊ว" ปิดรอยแตก หรือ อาจจะด้วยเนื้อสีเอง โดยการใช้แปรงสีทาปาด ให้เนื้อสีมีความหนา ปิดรอยแตก โดยให้ทาเน้นๆ รอจนกว่าสีจะแห้ง จากนั้นไล่ลูกกลิ้งแบบทาสีทั่วไป แต่มักจะมีปัญหาตามมาทีหลัง ถ้าแตกเป็น รอยใหญ่ ก็ใช้ปูนยิปซัม (ปูนพลาสเตอร์) อุดเข้าไป แต่ถ้าใหญ่มาก็ ควรสกัดเป็นแนวแล้วฉาบแก้เข้าไปใหม่แต่วิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากเนื้อปูนที่ฉาบเข้าไปใหม่นั้น ไม่ได้เป็น เนื้อเดียวกันกับปูนเก่า จึงมีโอกาสหลุดออกมาเป็นแนว เมื่อตึกมันเก่า ถ้ามีงบประมาณพอก็ควร สกัดทั้งผืนแล้วฉาบใหม่อีกที แล้วจึงลงมือทาสี ข้อสำคัญผนังที่จะทาสีนั้นต้องสะอาด แห้ง ไม่มีความชื้น พื้นที่จะทานั้นแห้งนิดไม่มีสภาพเป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตก ให้เห็น และข้อสำคัญที่สุด จะประหยัดอะไร ก็ประหยัดได้แต่อย่าไปประหยัดสีรองพื้น หรือที่ช่างมักเรียกว่า ไพร์มเมอร์ เป็นอันขาด เพราะสีรองพื้น จะทำหน้าที่ทั้งในการยึดเหนียวสีที่ทากับผนัง และยังช่วยไล่ความชื้นจากผนังไม่ให้เข้าไปทำลายสีไม่ให้เกิดการหลุดล่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง
01.การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งาน
02.การแบ่งประเภทของสีกับการใช้งาน
03.แนวคิดการเลือกใช้สี
04.ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
05.การทาสีและประเภทของสีทาบ้าน
06.การทาสีและการเลือกใช้สี
1.หลังจากการทำความสะอาดพื้นผิวตรงบริเวณที่จะทำการทาสีแล้วก่อนการทาสีจริงหรือสีทับหน้าจะต้องมีการทาสีรองพื้น ก่อนเสมอ ซึ่งสีรองพื้น ดังกล่าว จะต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับ ชนิดและสภาพของพื้นผิว ที่จะทาด้วยเพื่อให้ผลงาน ที่ได้มี คุณภาพดี และคงทน เพราะสีรองพื้นต่างชนิดกัน จะมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ใช้สีรองพื้นปูนใหม่ กันด่างสำหรับพื้นผิวปูน ที่ยังไม่เคยทาสีมาก่อน ใช้สีรองพื้นปูนเก่า สำหรับพื้นผิวปูนเก่า ที่เคยผ่านการทาสี และขูดสีเก่าออกแล้ว ใช้สีรองพื้นแดงกันสนิม
สำหรับงานทาสีพื้นผิวเหล็กทั่วไป และใช้สีรองพื้นไม้กันเชื้อราสำหรับงานทาสีพื้นผิวไม้ เป็นต้น มีอยู่บ่อยครั้งที่มีการทาสีจริง ทับหน้าเลย โดยไม่มีการทาสีรองพื้นก่อน เช่น งานทาสีเหล็กต่างๆ หรือมีการใช้สีรองพื้นผิดประเภท เช่น งานทาสีปูนเก่าและปูนใหม่ ซึ่งอาจจะทำด้วย ความจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผลงาน ที่ได้มีคุณภาพไม่ดี เท่าที่ควร และมีอายุการใช้งานสั้นลง
2.การเลือกสีที่ใช้ว่าเป็นสีอะไรนั้นควรจะเลือกตามเบอร์หรือสเป็กของสีที่แต่ละบริษัทผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัท ผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัทจะผลิตสีต่างๆ ออกมาให้เลือกเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ไม่ควรนำสีต่างๆ มาผสมเอง เพราะการ ผสมสีเองในแต่ละครั้ง อาจเกิด การผิดเพี้ยนได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการผสมสี เพื่อซ่อมสีบางจุดใน ภายหลัง อาจเกิด การผิดเพี้ยนได้มาก อีกประการหนึ่งการนำสีต่างๆ มาผสมกันเองอาจเป็น สาเหตุที่ทำให้มีการนำเอาสีเก่า หรือสีที่ด้อยคุณภาพ มาผสมลงไปได้โดยง่าย ซึ่งทำการตรวจสอบได้ยาก ทำให้สีที่ได้ด้อยคุณภาพลงอีกด้วย
3.สีที่นำมาใช้ควรจะเป็นสีใหม่หรืออยู่ในสภาพที่ดี มีเนื้อสีสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีลักษณะของการปนเปื้อนหรือจับตัวเป็นก้อน กระป๋องที่ บรรจุสีจะต้องอยู่ในสภาพดี มีฝาปิดสนิท มีการระบุเบอร์ของสีที่ชัดเจน ไม่อยู่ในสภาพบุบเบี้ยวหรือหรือเต็มไปด้วยสนิม ซึ่งทำให้ไม่สามาถ เก็บรักษาสีให้อยู่ในสภาพที่ดีได้
4.สำหรับบางคนอาจจะเลือกใช้กระดาษปิดผนัง (wallpaper) แทนการทาสีในบางส่วนเพื่อเพิ่มความหรูหราสวยงามให้แก่ ตัวบ้าน เนื่องจากการใช้ กระดาษปิดผนัง จะต้องใช้กาวเป็นตัวติดประสาน จึงมีข้อควรระวังปัญหา เรื่องน้ำ โดยเฉพาะผนังด้าน ที่มีหน้าต่างหรือช่องกระจก ควรระวัง เรื่อง การรั่วซึมของน้ำฝน เพราะหากมีน้ำรั่วซึมออกมาแล้ว จะทำให้กระดาษปิดผนัง เป็นรอยด่าง ขึ้นราและหลุดออกได้ง่าย ฉะนั้นการเลือกใช้กระดาษ ปิดผนัง แทนการทาสี จึงควรพิจารณาถึง สิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อหาทางป้องกันเอาไว้
อาคารบ้านเรือนหลายหลังที่พบว่ามีอาการวิบัติของสีที่ใช้ในการทาบ้าน หรือที่ภาษาชาวบ้านเขามักจะเรียกว่า "สีลอก สีร่อน" จริง ๆ แล้วอาการ ที่ว่า ก็เกิดจากสาเหตุไม่กี่อย่าง แต่พอจะมีวิธีป้องกัน และแก้ไขเสียก่อน ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง หลักการข้อแรกคือ ต้องพึงนึกอยู่เสมอว่า สีกับความชื้น จะไม่ถูกกัน ฉะนั้นถ้ามีสิ่งที่ก่อให้เกิดความชื้น ก็ไม่ควรที่จะลงมือทำอะไรที่เกี่ยวกับสีครับ เช่น ในกรณีหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาเช่นนี้ ก็ไม่ควรที่จะให้ช่างสี ลงมือทาสีเลยทันที โดยเฉพาะผนังภายนอก หลังจากฝนตกแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 วันหรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี เพื่อให้ความชื้นในผนังหมดไปเสียก่อน จึงได้ฤกษ์ลงมือทาสีกันได แต่ถ้าการก่อสร้างของท่าน เร่งด่วนจริง ๆ ก็มีสีรองพื้นปูนใหม่ประเภทที่ฉาบเสร็จ 1 วันทาได้เลยครับ เป็นสีผสมผงปูนอย่างหนึ่ง สีชนิดนี้จะทาประมาณ 2-3 รอบ ลักษณะการทาจะเหมือนกับการฉาบปูน (ปูนกาว) บาง ๆ ทับปูนฉาบไปอีกชั้นหนึ่ง แต่หากเป็นสีปกติธรรมดา จะลงมือทาสีได้ หลังจากฉาบและทิ้งไว้ ๑๔ - ๒๘ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาให้เสร็จเสียก่อน จึงจะทาสีได้ ไม่เช่นนั้นสีก็จะเป็นขุย หรือจะลอก ซีดได้
ปัญหาอีกอย่างที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ รอยร้าวเล็ก ๆ ที่ผนังซึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อการทาสีได้เช่นกัน รอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ไม่ได้ทำเอ็น รอบวงกบ และต่อเอ็นไปเชื่อมส่วนโครงสร้างหลักหรือไม่ได้ ติดลวดตะแกรงที่มุมวงกบ หรืออาจเกิดจาก ฝีมือของช่างฉาบเอง เช่น ฉาบปูนแล้วไม่ได้บ่มน้ำ หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ใช้ฟองน้ำฉาบไล้ผิวแบบผิดวิธี
ถ้าเป็นรอยแคร๊กเล็กๆ ทั้งหลายสามารถ "โป๊ว" ปิดรอยแตก หรือ อาจจะด้วยเนื้อสีเอง โดยการใช้แปรงสีทาปาด ให้เนื้อสีมีความหนา ปิดรอยแตก โดยให้ทาเน้นๆ รอจนกว่าสีจะแห้ง จากนั้นไล่ลูกกลิ้งแบบทาสีทั่วไป แต่มักจะมีปัญหาตามมาทีหลัง ถ้าแตกเป็น รอยใหญ่ ก็ใช้ปูนยิปซัม (ปูนพลาสเตอร์) อุดเข้าไป แต่ถ้าใหญ่มาก็ ควรสกัดเป็นแนวแล้วฉาบแก้เข้าไปใหม่แต่วิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากเนื้อปูนที่ฉาบเข้าไปใหม่นั้น ไม่ได้เป็น เนื้อเดียวกันกับปูนเก่า จึงมีโอกาสหลุดออกมาเป็นแนว เมื่อตึกมันเก่า ถ้ามีงบประมาณพอก็ควร สกัดทั้งผืนแล้วฉาบใหม่อีกที แล้วจึงลงมือทาสี ข้อสำคัญผนังที่จะทาสีนั้นต้องสะอาด แห้ง ไม่มีความชื้น พื้นที่จะทานั้นแห้งนิดไม่มีสภาพเป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตก ให้เห็น และข้อสำคัญที่สุด จะประหยัดอะไร ก็ประหยัดได้แต่อย่าไปประหยัดสีรองพื้น หรือที่ช่างมักเรียกว่า ไพร์มเมอร์ เป็นอันขาด เพราะสีรองพื้น จะทำหน้าที่ทั้งในการยึดเหนียวสีที่ทากับผนัง และยังช่วยไล่ความชื้นจากผนังไม่ให้เข้าไปทำลายสีไม่ให้เกิดการหลุดล่อน
Read more: http://www.novabizz.com/CDC/Process26.htm#ixzz29QOeuHfB
บทความที่เกี่ยวข้อง
งานทาสีอาคาร
01.การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งาน
02.การแบ่งประเภทของสีกับการใช้งาน
03.แนวคิดการเลือกใช้สี
04.ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
05.การทาสีและประเภทของสีทาบ้าน
06.การทาสีและการเลือกใช้สี