กฎหมายที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน


กฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้านเบื้องต้น อันได้แก่


- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2534, 2542 และ 2543
- ระเบียบกรุงเทพมหานคร
- เทศบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543

หาก คุณต้องการจะสร้างบ้าน สิ่งแรกที่ควรกระทำคือ การขออนุญาติเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งอนุญาติก่อน จึงจะปลูกสร้างบ้านได้ รายละเอียดการดำเนินการส่วนใหญ่บริษัทรับสร้างบ้านจะเป็นผู้ดำเนินการให้ อยู่แล้ว ในกรณีที่ต้องการปลูกสร้างบ้านแฝด กฎหมายกำหนดให้ต้องมีที่ว่างด้านหน้า และด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวรั้ว หรือแนวเขตที่ดินกับผนังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และ 2 เมตร ตามลำดับ และมีที่ว่างด้านข้างกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร สำหรับอาคารที่ปลูกสร้างใกล้ถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคาร ห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร รั้วหรือกำแพงที่สร้างบ้านติดกับสาธารณะ จะสร้างสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร วัดจากระดับทางเท้า หรือถนนสาธารณะ การปลูกสร้างอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียงต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินดังนี้

- อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องห่างจากเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
- อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ผนังหรือระเบียงต้องห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร

ใน กรณีก่อสร้างชิดแนวเขตที่ดิน ต้องได้รับความยินยอม เป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้นด้วย สำหรับผู้ที่ซื้อที่ดินเปล่าเพื่อจะทำการปลูกสร้างบ้านเองนั้น อาจพบปัญหาที่ดินต่ำกว่าระดับถนน หรือบ้านข้างเคียง หรือพบปัญหาไม่มีที่ระบายน้ำ เจ้าของที่ดินจะดำเนินการถมที่ดินขึ้นเพื่อป้องกันน้ำขังหรือขุดดินทำทางน้ำ ในบ้านของตนเองได้ แต่ทั้งนี้ต้องกระทำภายใต้กฎหมาย คือ พระราชบัญญัติการขุดดิน และการถมดิน พ.ศ.2543 พอจะนำเสนอโดยสังเขปดังนี้

- มาตรา 17
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด

- มาตรา 24
การ ขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร เมื่อจะขุดใกล้แนวที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของ ที่ดินที่จะขุดดิน ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดิน ตามวิสัยที่ควรกระทำ

- มาตรา 26
ผู้ ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดิน เกินกว่าระดับที่ดินต่างข้าวของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกาศกำหนดจัดต้องมีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร



บทความที่่เกี่ยวข้อง

กฎหมายเกี่ยวช้องกับการสร้างบ้าน













ใหม่กว่า เก่ากว่า