10.บ้านทรงไทย

บริษัทรับสร้างบ้านหาดใหญ่,รับสร้างบ้านหาดใหญ่,รับเหมาหาดใหญ่,แบบบ้านหาดใหญ่,บ้านทรงไทย,

บ้านเรือนไทย หรือบ้านทรงไทย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคค่ะ โดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยสมัยก่อนและแสดงออกถึง ภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูมิภาค โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น

-เรือนไทยภาคเหนือ
-เรือนไทยภาคกลาง
-เรือนไทยภาคอีสาน
-เรือนไทยภาคใต้

ลักษณะทั่วไปของเรือนไทย
เรือนไทยสามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัวค่ะ ได้แก่ เรือนเครื่องสับ, เรือนเครื่องผูก, เรือนเครื่องก่อ ในที่นี้เราจะอนุมานถึงเรือนไทยเครื่องสับ เนื่องจากเป็นเรือนไทยที่ได้รับความนิยมสูงสุดโดยมากใช้เป็นเรือนสำหรับอยู่ อาศัยตั้งแต่สามัญชน คนธรรมดาตลอดจนผู้มีฐานานุศักดิ์ชั้นสูงในสังคม เรือนไทยเครื่องสับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง





ลักษณะของเรือนไทย ส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้หรือวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติตามท้องถิ่นนั้นๆ

มักสร้างด้วยวิธีประกอบสำเร็จรูปทั้งในเรือนเครื่องสับและเรือนเครื่องผูก สามารถรื้อถอนขนย้ายไปปลูกสร้างที่อื่นได้

มีหลังคาทรงสูง ทรงสูงจะทำให้การระบายน้ำออกจากหลังคารวดเร็ว และช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วซึมของหลังคาอีกด้วย เมื่อสังเกตที่ชายหลังคาจะเห็นว่า มี กันสาด ยาวตลอดเพื่อป้องกันแสงแดดจัด ที่ปลายทั้งสองด้านของหลังคาจะมียอดแหลมเรียกว่า “เหงา” เนื่องจากความเชื่อในสมัยก่อนที่ชาวบ้านนิยมนำเขาสัตว์มาแขวน บริเวณเชิงหลังคาเพื่อป้องกันและขับไล่ทูตผีปีศาจและวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้ เข้ามาในบ้าน




มีพื้นที่โล่งใต้เรือนไทยเรียกว่าบริเวณใต้ถุน โดยแต่เดิมบริเวณใต้ถุน บ้านจะถูกปล่อยไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่อาจเป็นที่สำหรับเก็บอุปกรณ์ การกสิกรรม หรือเป็นที่ทำหัตถกรรมนอกฤดูเก็บเกี่ยว แต่โดยมากมัก จะถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากในฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมบริเวณใต้ถุนบ้านทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้การเลือกบริเวณที่อยู่อาศัย ให้มีน้ำท่วมถึงเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อคนไทยในสมัยโบราณเป็นอย่างมากเนื่อง จาก ประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม ทั้งนี้การยกเรือนไทยสูงจากพื้นยังช่วยป้องกันสัตว์ร้ายที่อาจมากับน้ำ เช่น งู หรือ ตะขาบได้อีกด้วย






เรือนไทยมีลักษณะเป็นเรือนขยายคือจะมีการขยายโดยสร้างเรือนไทยใหม่ที่อยู่ใน บริเวณเรือนเก่า โดยจะเชื่อมต่อโดยใช้ “นอกชาน” เชื่อม เรือนไทยแต่ละเรือนไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่นเมื่อครอบครัวมีสมาชิกใหม่ก็จะสร้างเรือนใหม่ไว้ใกล้เรือนเก่า ของพ่อแม่โดยจะรวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน

การยึดเรือนไว้ด้วยกันจะไม่ใช้ตะปู แต่จะใช้เทคนิค การเข้าเดือยไม้ ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะของเรือนเครื่องสับ

โครงสร้างเรือน ไทยมีโครงสร้างแบบเสาและคานซึ่งถ่ายน้ำหนักมาจากหลังคาลงพื้น โดยผ่านเสาลงสู่ฐานราก เสาบ้านมีลักษณะสอบเข้า และเป็นเสากลม โคนโต ปลายสอบ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของเรือนไทยไม่ให้ทรุดตัวได้ง่าย เนื่องจากฤดูน้ำหลาก พื้นดินจะ เป็นโคลนตม และตัวเรือนอาจเกิดการทรุดตัวได้ง่ายหากไม่มีการล้มสอบของเสาเรือน

จริง ๆ แล้ว เรือนไทยนั้นมีความเหมาะสมสำหรับคนไทย ที่ใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นดินไทยซึ่งเป็นเมืองร้อน จึงได้ถูกออกแบบมาได้อย่างให้เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์และการอาศัยอยู่ใน เรือนรูปแบบนี้ แต่เนื่องจากเรือนไทยของเรา มักใช้ไม้ในการปลูกสร้างการปลุกสร้าง จึงอาจจะมีราคาแพงมากกว่าบ้านที่ก่อสร้างด้วยปูน เพราะจะต้องใช้ไม้ในการก่อสร้างทั้งหมด ค่าแรงก็แพง หาฝีมือช่างก็อาจจะยากซักหน่อย จึงทำให้ผู้คน ทั่วไปในสมัยนี้ ไม่ค่อยปลูกสร้างบ้านที่อยู่อาศัยเป็นเรือนไทยกัน แต่มักจะก่อสร้างแบบสมัยใหม่ เป็นบ้านที่ก่ออิฐ ปูน หรือ คอนกรีต ตามแบบสมัยนิยม ลอกแบบ หรือประยุกต์แบบ้านมาจากต่างประเทศ เรือนไทยแท้ ๆ สมัยนี้จึงหาดูได้ยากทีเดียว





บทความที่เกี่ยวข้อง
เริ่มต้นสร้างบ้าน














ใหม่กว่า เก่ากว่า